รู้เรื่องห้องเย็น , ห้องคลีนรูม

ข้อควรรู้เกี่ยวกับข้อมูลห้องเย็น

การเลือกซื้อห้องเย็น การเลือกห้องเย็นนั้นมี ปัจจัย หลายอย่าง ที่เราต้องมาพิจารณา เพื่อให้ได้ห้องเย็นที่เหมาะกับเราอย่างเช่น อุณหภูมิที่ต้องการ ปริมาณสินค้าที่เข้าห้องเย็นต่อวัน และอุณหภูมิสินค้าก่อนเข้าห้องเย็น อย่างถ้าเป็นห้องฟรีสแช่แข็ง ควรต้องการให้สินค้าแข็งภายในเวลากี่ ชั่วโมง เป็นต้น 

1. ห้องเย็นมีขนาดและราคาเท่าไหร่บ้าง

ขนาดห้องเย็นถ้าเป็นแบบเคลื่อนย้ายได้ ส่วนใหญ่ด้านกว้าง จะมีขนาด 2.4 เมตร ความยาว จะมีขนาดไม่เกิน 6 เมตร เพราะต้องยกเคลื่อนย้ายด้วยรถเฮียบ ซึ่งมีความยาวของรถที่บรรทุกได้ 6 เมตร
ห้องเย็น ขนาดกว้าง 2.4 เมตร ยาว 2.4 เมตร สูง 2.4 เมตร จะเก็บสินค้าได้ประมาณ 1-2 ตัน ขึ้นอยู่กับเป็น สินค้า อะไร เนื้อสัตว์ หรือ ผักผลไม้ ถ้าเป็นประเภทผักผลไม้ น้ำหนักก็น้อยลงไป ส่วนนี้เป็นห้องเย็นสำเร็จรูปนะครับ จริงๆ แล้ว ก่อนเลือกห้องเย็นว่าจะเอาขนาดเท่าไร จะมี ปัจจัย ในการเลือก เช่น ประเภทสินค้า, ปริมาณสินค้า (กิโลกรัม/ตัน)

2. เก็บของขนาดเท่าไหร่ใช้ห้องเย็นขนาดไหนดี
ในข้อที่ 1 ได้พูดถึง ปัจจัยในการเลือกขนาดห้องเย็น คือ ประเภทสินค้า และปริมาณที่จะเก็บ ยกตัวอย่าง ห้องเย็นสำเร็จรูปขนาดเล็กที่สุด 2.4 x 2.4 x 2.4 เมตร จะเก็บเนื้อสัตว์ได้ 1 ต้น ผักผลไม้ น้ำแข้ง ไอศรีม ได้จะ 1-2 ตัน หากเก็บหรือแช่แข็ง สินค้าที่มากๆ หลายสิบตัน จำเป็นต้องขยายห้องเย็น จะแนะนำเป็น ห้องเย็นแบบตามสั่ง แล้วห้องเย็นแบบตามสั่งกับห้องเย็นสำเร็จรูปต่างยังไงดูตามตารางด้านล่าง

รายการห้องเย็นตามสั่งแบบประกอบห้องเย็นสำเร็จรูป
เคลื่อนย้ายไม่ได้ได้
เก็บมากกว่า 10 ตันได้ไม่ได้
ตั้งในอาคารต่ำๆได้ไมได้
เวลาการผลิต15 วัน หน้างาน30 วัน

 

3. การใช้ไฟ
ควรใช้ไฟ 380 โวลล์ หรือไฟฟ้า 3 เฟส หรือหากไม่สะดวกไฟบ้าน 220 โวลล์ ก็ใช้งานได้เช่นกัน แต่ ต้องให้มั่นใจว่า ที่บ้านไฟไม่ตกและบ้านไม่อยู่ปลายสายของสายส่งไฟฟ้า เพราะถ้าไฟไม่พอหรือไฟตกจะมีผลกระทบกับเครื่องทำความเย็นห้องเย็นและใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อาจจะมีอายุการใช้งานสั้นลง แต่ส่วนใหญ่เราจะมีอุปกรณ์ไฟฟ้าป้องกันไฟตกไฟเกิน ( under voltage ) จะอยู่ในตู้ Control กรณีที่ไฟฟ้าตก หรือไฟฟ้าต่ำกว่าโวล์ทปกติ ไฟจะไม่จ่ายไปที่เครื่อง เย็นเพื่อเซพเครื่อง

4. อัตราการกินไฟ
ค่าไฟฟ้าโดยเฉลี่ยห้อง /2.4 เมตร ประมาณ 3 ถึง 5 พันบาท แต่มีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ค่าไฟสูงขึ้น เช่น
– เปิดประตูห้องเย็นบ่อยๆ
– การดูแลบำรุงรักษาเครื่องทำความเย็น
– คอมเพรสเซอร์ตัดต่อการทำงานถี่เกินไป
– พื้นที่ระบายลมร้อนจากคอล์ยร้อนแคบเกินไป ระบายความร้อนไม่ได้
– เก็บสินค้าผิดประเภทหรือเกินปริมาณที่ออกแบบเครื่องทำความเย็นไว้

5. ใช้พื้นที่อย่างไรในการวางห้องเย็น
ห้องเย็นสำเร็จรูป จำเป็นต้องวางในพื้นที่ที่ค่อนข้างโล่งและ หลังคาสูง เพราะการเคลื่อนย้ายหรือการขนส่งจะใช้รถเครนยกและวาง ต้องใช้พื้นที่พอสมควร ซึ่งต่างจากห้องเย็นแบบตามสั่ง ที่เราจะเข้าไปประกอบขึ้นห้องที่หน้างานเลยจึงไม่มีปัญหาเรื่องหลังคาหรือความสูง

6. การเตรียมตัวก่อนมีห้องเย็น 


สิ่งที่เราจะต้องเตรียมก่อนมีห้องเย็นนั้นมี 2 อย่าง หลักๆ คือ
– ไฟฟ้า ลูกค้าต้องเดินสายไฟจากมิเตอร์ไฟ มายังบริเวณที่จะวางห้องเย็น
– สถานที่วาง เตรียมสถานที่ ที่จะวางห้องเย็น พื้นจะต้องเรียบ แข็งแรงที่จะรองรับน้ำหนักของสินค้าได้ และมีหลังคาคลุมหัองเย็นหากตั้งไว้ในที่แจ้ง

7. มีบริการหลังการขาย
เราจะต้องดูด้วยว่าผู้ให้บริการห้องเย็นที่เราจะลงทุนซื้อนั้นมีการรับประกันแน่นอน ทั้งห้องและเครื่องทำความเย็น หากห้องเย็นมีปัญหาภายในระยะเวลารับประกัน จะต้องไม่มีค่าใช้จ่ายในการดูแล ถ้าหากเลยระยะเวลาประกันไปแล้วจะต้องมีบริการดูแลให้ ซึ่งอาจจะเป็นไปตามลักษณะงาน

8. สินค้าจะแข็งไหม
สินค้าแต่ละประเภทจะแข็งในช่วงอุณหภูมิที่ ไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น หมู แช่แข็งหมูสดทั้งตัว ซึ่งตัวหมูจะมีความหนา กว่าความเย็นจะเข้าไปข้างใน ต้องใช้อุณหภูมิ ติดลบถึง -15 ถึง -18 องศาเซลเซียส หรือจะให้แข็งมากกว่านี้ที่อุณหภูมิติดลบเยอะๆ ก็ต้องเป็นห้อง Blast Freeze หากเก็บสินค้าเป็นผักผลไม้ ก็ไม่จำเป็นต้องแข็ง แค่ 0 ถึง 5 องศา ก็เพียงพอ

บริการซ่อม ห้องเย็น บำรุงรักษา Service & maintenance

บริการตรวจเช็คบำรุงรักษาระบบการทำงานทั่วไปของเครื่องทำความเย็น ให้สามารถใช้งานตามปกติ
โดยการตรวจเช็คต้องมีรายละเอียด ดังนี้
6.1 ตรวจเช็คแรงดันไฟฟ้า (Voltage) และกระแสไฟฟ้า (Ampere) จ่ายเข้าเครื่องทำความเย็น อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดและปลอดภัย
6.2 ตรวจเช็คค่ากระแสไฟฟ้า การทำงานของคอมเพรสเซอร์, พัดลมคอนเดนเซอร์, พัดลมคอยล์เย็น อยู่ในขอบเขตการใช้งานปกติ
6.3 ตรวจเช็คสภาพสายไฟ ตำแหน่งขั้วยึดหัวสายไฟ ข้อต่อสายไฟของอุปกรณ์ไฟฟ้า แมกเนติก, โอเวอร์โหลด, ไทม์เมอร์,รีเรย์ ทั้งหมดว่ายังอยู่ในสภาพดี ยึดแน่น และใช้งานได้อย่างปลอดภัยตามปกติ
6.4 ตรวจเช็คการตัดต่ออุณหภูมิห้อง ทำงานปกติหรือไม่
6.5 ตรวจเช็คระบบการตัดต่อของ Pressure Switch Control (Hi - Low) ทำงานปกติหรือไม่
6.6 ตรวจเช็คฮีตเตอร์คอยล์เย็น ทำงานปกติหรือไม่
6.7 ตรวจเช็คระดับน้ำมันคอมเพรสเซอร์ มีปริมาณเพียงพอสำหรับการใช้งานและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันคอมเพรสเซอร์ตามอายุการใช้งาน
6.8 ตรวจเช็คระดับน้ำยา ทางด้าน HIGH SIDE และ LOW SIDE ของระบบน้ำยาว่าอยู่ในขอบเขตการใช้งานตามปกติหรือไม่ มีปริมาณน้ำยาเพียงพอสำหรับการใช้งานดีแล้วหรือไม่
6.9 ตรวจเช็คการเปิด - ปิด ของวาล์วน้ำยา ทำงานปกติหรือไม่
6.10 ตรวจเช็ครอยรั่วซึม Expansion Valve , แฟร์นัท, วาล์วเปิด – ปิด ท่อน้ำยาและข้อต่อทั้งหมด มีรอยรั่วหรือไม่
6.11 ตรวจเช็คทำความสะอาดชุดคอนเดนซิ่งยูนิต
6.12 ตรวจเช็คทำความสะอาดแผงระบายความร้อนและมอเตอร์คอนเดนเซอร์
6.13 ตรวจเช็คทำความสะอาดแผงระบายความเย็น และมอเตอร์คอยล์เย็น
6.14 ตรวจเช็คทำความสะอาดท่อน้ำทิ้ง ไม่ให้อุดตัน
6.15 ตรวจเช็คจุดน๊อตยึดอุปกรณ์ทุกจุด
6.16 ตรวจเช็คอุปกรณ์อื่นๆ ว่าอยู่ในสภาพปกติหรือไม่

   

ข้อควรรู้เกี่ยวกับห้องคลีนรูม (Clean Room) ในโรงงานอุตสาหกรรม

 

 

 

ห้องคลีนรูม (Clean Room)เป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญของโรงงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าที่ต้องมีมาตรฐานในความสะอาดระดับสูง ปลอดทั้งเชื้อโรคและฝุ่น จึงมีหลายๆอุตสาหกรรมที่ต้องมีการใช้ห้องคลีนรูมในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหารและยา อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอีเล็คโทรนิคส์ โรงงานผลิตอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับด้านความสะอาดในระดับปลอดเชื้อ จึงมั่นใจได้ว่าผลผลิตที่ได้จะมีความปลอดภัยสูง ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน ดังนั้นหากท่านมีความสนใจในอุตสาหกรรมเหล่านี้หรือมีความสนใจที่จะทำห้องคลีนรูมในการผลิต สามารถตามไปทำความรู้จักกับห้องคลีนรูม (Clean Room)เอาไว้ในเบื้องต้นในบทความนี้ได้เลยค่ะกับ 6 ข้อควรรู้เกี่ยวกับห้องคลีนรูม (Clean Room)ในโรงงานอุตสาหกรรม6 ข้อควรรู้เกี่ยวกับห้องคลีนรูม (Clean Room)ในโรงงานอุตสาหกรรม

 

1. ห้องคลีนรูม (Clean Room)โรงงาน คืออะไร?

 

 

 

ห้องคลีนรูม คือห้องปลอดเชื้อที่มีการควบคุมปริมาณอนุภาคของฝุ่นละอองไม่ให้เกินกำหนด ทั้งยังควบคุมสิ่งปนเปื้อนภายในห้องนั้น และมีการควบคุมปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่ออนุภาคของฝุ่น ได้แก่ ความเร็วลม อุณหภูมิ ความดัน ความชื้น ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณฝุ่นละอองที่พดผ่านเข้ามาในห้อง และส่งผลต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ เชื้อโรค และอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งปนเปื้อน ที่ทำให้ไม่สะอาด โดยห้องคลืนรูมโรงงานจำเป็นสำหรับหลายๆ อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิตเครื่องสำอาง โรงงานผลิตอาหาร โรงงานชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรือโรงงานผลิตอาหารเสริม ก็ล้วนต้องใช้งานห้องคลีนรูม (Clean Room)ค่ะ

 

 2. คุณสมบัติจำเพาะของห้องคลีนรูม (Clean Room)โรงงาน มีอะไรบ้าง?

 

ทั้งนี้สำหรับห้องคลีนรูม (Clean Room)ก็มีคุณสมบัติจำเพาะที่กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจน เพื่อแยกแยะประเภทของห้องที่ว่าให้แตกต่างกว่าห้องในโรงงานทั่วๆ ไปมีดังนี้ค่ะ

 

 -           อุณหภูมิที่เหมาะสมกับห้องคลีนรูม มักถูกกำหนดอยู่ในช่วง 72 oF (22.2 oC) ± 0.25 oF (0.14 oC) โดยอุณหภูมิ เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องควบคุมภายในห้องคลีนรูม เพราะอุณหภูมิมีความเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ทั้งนี้จะมีการกำหนดตามความต้องการของกระบวนการผลิต

 

-           ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 50 ± 10 % มีส่วนในเรื่องของผลิตภัณฑ์ หากความชื้นภายในห้องไม่เหมาะสม อาจทำให้ผลผลิตเสียหายได้ เพราะผลิตภัณฑ์บางอย่างอาจมีวัสดุที่ดูดความชื้นได้ง่าย หากความชื้นสูงเกินไป ก็อาจทำให้เกิดสนิมหรือความเสียหายบางอย่างขึ้น

 

-   ความดันเป็นบวกเสมอ ห้องที่มีระดับความสะอาดต่างกัน กำหนดให้มีความดันต่างกันอย่างน้อย 0.05นิ้วน้ำ

 

-   แสงสว่าง 1,080 – 1,620 lux (กรณีที่ไม่มีการกำหนดพิเศษ)

 

  1. ชนิดของห้องคลีนรูม (Clean Room)โรงงาน

 

สามารถแบ่งชนิดของห้องคลีนรูมตามการไหลเวียนของอากาศได้ ดังนี้

 

1. Conventional Clean Room ระดับความสะอาดของห้องคลีนรูมประเภทนี้จะอยู่ที่ประมาณ Class 1,000 – 10,000 มีการไหลเวียนของอากาศเหมือนระบบปรับอากาศที่ใช้ทั่วไป โดยจะใช้ HEPA filter แต่มีจำนวนครั้งในการเปลี่ยนถ่ายอากาศที่มากกว่า ช่วยให้ความสกปรกภายในห้องลดลง

 

2. Horizontal Larminar Clean Room ระดับความสะอาดของห้องคลีนรูมประเภทนี้จะอยู่ที่ประมาณ Class 100 มีการใช้ลมที่มีความเร็วคงที่ไหลผ่าน HEPA filter โดยจะมีการติดตั้งเครื่องนี้อยู่เต็มพื้นที่ของผนังด้านใดด้านหนึ่งของห้อง ปล่อยให้อากาศที่ผ่านเข้าสู่ห้องที่สะอาด ถูกดูดกลับขึ้นไปที่ด้านบนของเพดานและย้อนกลับไปสู่เครื่องเป่าลม มักใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ห้อง Lab ชีววิทยา ฯลฯ

 

3. Vertical Laminar Flow Clean Room ห้องคลีนรูมชนิดนี้มีระดับความสะอาดของห้องอยู่ที่ประมาณ Class 100 โดยจะมีการติดตั้ง HEPA filter เอาไว้เต็มเพดาน และอากาศจะไหลผ่านจากเพดาน ผ่าน HEPA filter ในแนวดิ่ง แล้วไปผ่านพื้นที่ภายในห้องทำให้โปร่งและไหลกลับสู่เครื่องเป่าลมเย็น เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็คทรอส์นิกส์โดยเฉพาะ

 

  1. ชนิดของห้องคลีนรูม (Clean Room)โรงงาน ตามการใช้งาน

 

สามารถแบ่งชนิดของห้องคลีนรูมตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้

 

1. Industrial Clean Room เป็นห้องสะอาดที่ใช้งานกับ

 

  • อุตสาหกรรมสารเคมีต่างๆ
  • อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ Microchip
  • อุตสาหกรรมการผลิตสี
  • อุตสาหกรรมการผลิตฟิล์ม

 

 2. Biological Clean Room เป็นห้องสะอาดที่มีการควบคุมปริมาณเชื้อแบคทีเรีย และมีการกำหนดความดันภายในห้องให้สูงกว่าความดันของห้องข้างเคียง เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกจากห้องข้างเคียงไหลเข้าห้องคลีนรูม ใช้งานกับ

 

  • ห้องปฏิบัติการด้านชีววิทยา
  • อุตสาหกรรมการผลิตยา
  • ห้องผ่าตัด

 

3. Biohazard Clean Room เป็นห้องสะอาดที่ใช้งานกับห้องปฏิบัติการเกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสและสารซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีการกำหนดให้ความดันภายในห้องต่ำกว่าห้องข้างเคียง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคและสารต่างๆ ไปยังภายนอก

 

  1. ใช้อะไรบ้างในการควบคุมเพื่อรักษามาตรฐานของห้อง Clean Room โรงงาน

 

  1. ใช้การควบคุมระดับความดันในห้องให้สูงกว่าความดันนอกห้อง (positive pressure = ความดันเป็นบวก)
  2. มีการติดตั้งเครื่อง HEPA filter เพื่อกรองสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เข้าห้องคลีนรูมโรงงาน
  3. คนทำงานในห้องคลีนรูมจะต้องล้างตัวด้วยอากาศ (air washer) ก่อนเข้าห้องเสมอ
  4. คนทำงานภายในห้องคลีนรูมจะต้องสวมชุดพิเศษทุกคน
  5. การเคลื่อนไหวของคนทำงานภายในห้องนี้จะต้องดำเนินไปอย่างเชื่องช้า
  6. ควรหมุนเวียนอากาศบางส่วนภายในห้องออกสู่ภายนอก เพื่อช่วยลดสิ่งสกปรกที่เกิดขึ้น
  7. ผนังและพื้นห้องต้องไม่สะสมฝุ่นและทำความสะอาดได้ง่าย
  8. วัสดุที่ใช้ภายในห้อง จะต้องไม่ทำให้เกิดความสกปรก
  9. ควรมีการป้องกันมิดชิด หรือมีการดูดอากาศทิ้งตามบริเวณต่างๆ ภายในห้องคลีนรูม ณ จุดที่มีอนุภาค ซึ่งจะก่อให้เกิดความสกปรก
  10. การทำความสะอาดภายในห้องคลีนรูมต้องทำตามมาตรฐานกำหนดอย่างเคร่งครัด

 

  1. จัดแบ่ง Class ของ Clean Room อย่างไร?

 

  1. Class 100 หมายถึง ห้องที่มีอนุภาคขนาด 0.5 ไมครอนหรือใหญ่กว่า ไม่เกิน 100 อนุภาคต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์ฟุต
  2. Class 1,000 หมายถึง ห้องที่มีอนุภาคขนาด 0.5 ไมครอนหรือใหญ่กว่า ไม่เกิน 1,000 อนุภาคต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์ฟุต
  3. Class 10,000 หมายถึง ห้องที่มีอนุภาคขนาด 0.5 ไมครอนหรือใหญ่กว่า ไม่เกิน 10,000 อนุภาคต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์ฟุต

 

โดยสรุปแล้วห้องคลีนรูมโรงงาน มีความสำคัญกับหลายๆ ภาคอุตสาหกรรมหรือหลายประเภทของโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิตเครื่องสำอาง โรงงานผลิตอาหาร โรงงานชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรือโรงงานผลิตเวชภัณฑ์และโรงงานผลิตอาหารเสริม เพื่อผลผลิตที่ตรงตามมาตรฐานกำหนดในเรื่องของคุณภาพ ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ยังเกี่ยวข้องกับการรักษาคุณภาพสินค้า ลดความเสื่อมที่อาจเกิดขึ้นหรือทำให้สินค้าเกิดความเสียหาย ( ขอขอบคณ บทความดีๆจาก PRO IND ) บริการให้เช่าโรงงานและให้เช่าคลังสินค้าคุณภาพสูง

 

 

Visitors: 153,200